สภาพทั่วไป
เทศบาลเมืองเดชอุดม ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔๕ ถนนสถลมาร์ค ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่รวมทั้งหมด ๘.๑๐ ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดชอุดมระยะทาง ๔ กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทาง ๔๕ กิโลเมตร
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อบต.เมืองเดช
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อบต.เมืองเดช
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อบต.เมืองเดช
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อบต.เมืองเดช
ลักษณะภูมิเทศ
สภาพทั่วๆ ไปเป็นที่ราบลาดเอียงไปทางทิศเหนือ สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ไม่เหมาะแก่การเกษตรและเลี้ยงสัตว์เท่าที่ควร โดยเฉพาะบริเวณที่มีแหล่งน้ำไหลผ่าน ได้แก่ บริเวณเลียบลำน้ำโดมใหญ่ และลำห้วยตลาด
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่รับผิดชอบเทศบาลตำบลม่วงสามสิบ มีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย ดังนี้
ฤดูฝน เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม และฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม ช่วงปลายฤดูฝนมีพายุดีเปรสชั่น ฝนตกชุก บางปีมีน้ำท่วมแต่ไม่รุนแรงนัก
ฤดูหนาว ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนภูมิภาคอื่นเนื่องจากอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศไทย อุณหภูมิเริ่มต่ำตั้งแต่ เดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ หนาวจัดในช่วงปลาย เดือนธันวาคม ถึง เดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยในระดับ 16.5 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มในเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม มีฝนเล็กน้อยในปลายเดือนเมษายน แต่ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก อุณหภูมิเฉลี่ยในระดับ 34.8 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปสภาพอากาศไม่ร้อน หรือ หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีในระดับ 22.32 องศาเซลเซียส
การคมนาคม
ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๔ ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมโยงกับจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๑๙๑ แยกทางหลวง ๒๔ ถึงอำเภอเดชอุดม
ทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๑๙๒ เชื่อมโยงกับอำเภอทุ่งศรีอุดม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
ทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๑๘๒ เชื่อมโยงกับอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี และเชื่อมโยงระหว่างตำบล หมู่บ้านต่างๆ ของอำเภอเดชอุดม
การคมนาคมขนส่งสามารถติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวกโดยทางรถยนต์โดยสารประจำทาง อาทิ
- สายอุบลราชธานี-เดชอุดม
- สายอุบลราชธานี - บุณฑริก
สภาพเศรษฐกิจ
ภายในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม ประชาชนบางส่วนประกอบอาชีพทำนาข้าว ส่วนการทำไร่ ทำสวน มีการปลูกพืชเศรษฐกิจบางส่วนได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา แก้วมังกร และพืชไร่อื่น
การศึกษา
 มีสถานการศึกษาในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม แยกได้ดังนี้ ๑. โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเดชอุดม และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเวตวันวิทยา และโรงเรียนเมืองเดช ๒. โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๖ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนหนองแสง โรงเรียนเวตวันวิทยา โรงเรียนเมืองเดช โรงเรียนดำรงสินอุทิศ โรงเรียนอนุบาลนาคสมุทรเดชอุดม และโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองเดชอุดม(ศิริลักษณ์วิทยาอนุสรณ์) ๓. โรงเรียน(ภาคเอกชน) จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลวรรณวิไล โรงเรียนอนุบาลเปรมชนก และโรงเรียนเวตวันวิทยาราม ๔. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองเดชอุดม และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดเวียงเกษม
การสาธารณสุข
การบริการด้านสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม มีหน่วยให้บริการทางสาธารณสุข ได้แก่ - โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ขนาด ๓๐๐ เตียง - สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเดชอุดม ๑ แห่ง - ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนเมือง รพร.เดชอุดม ๑ แห่ง - ศูนย์บริการสาธารณสุข ทม.เดชอุดม ๑ แห่ง - คลินิก (เอกชน) ๒๑ แห่ง - ร้านขายยา ๒๑ แห่ง
การไฟฟ้า
กิจการไฟฟ้าของเทศบาลเมืองเดชอุดมอยู่ในความควบคุมของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คือสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเดชอุดม
การประปา
กิจการประปาในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม ดำเนินการโดยสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอเดชอุดม
การสื่อสาร
ภายในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม มีที่ทำการไปรษณีย์อำเภอเดชอุดม ของการสื่อสารแห่ง ประเทศไทย จำนวน ๑ แห่ง ให้บริการรับ-ส่งไปรษณีย์ ไปรษณีย์โทรเลข พัสดุภัณฑ์ ฯลฯ และมีสำนักงานบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สาขาเดชอุดม ๑ แห่ง
สถานีดับเพลิง
การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินภายในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม อยู่ในความดูแลของสถานีตำรวจภูธรเดชอุดม ตั้งอยู่ที่ถนนประชา และมีสถานีดับเพลิง เทศบาลเมืองเดชอุดม ๑ แห่ง ตั้งอยู่ที่อาคารป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานเทศบาลเมืองเดชอุดม มีจำนวนรถดับเพลิง ๒ คัน รถน้ำ ๓ คัน รถกู้ภัย ๑ คัน โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำ ตลอด 24 ชั่วโมง