ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไป
เทศบาลเมืองเดชอุดม ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔๕ ถนนสถลมาร์ค ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่รวมทั้งหมด ๘.๑๐ ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดชอุดมระยะทาง ๔ กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทาง ๔๕ กิโลเมตร
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อบต.เมืองเดช
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อบต.เมืองเดช
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อบต.เมืองเดช
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อบต.เมืองเดช
ลักษณะภูมิเทศ
สภาพทั่วๆ ไปเป็นที่ราบลาดเอียงไปทางทิศเหนือ สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ไม่เหมาะแก่การเกษตรและเลี้ยงสัตว์เท่าที่ควร โดยเฉพาะบริเวณที่มีแหล่งน้ำไหลผ่าน ได้แก่ บริเวณเลียบลำน้ำโดมใหญ่ และลำห้วยตลาด
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่รับผิดชอบเทศบาลตำบลม่วงสามสิบ มีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย ดังนี้
ฤดูฝน เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม และฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม ช่วงปลายฤดูฝนมีพายุดีเปรสชั่น ฝนตกชุก บางปีมีน้ำท่วมแต่ไม่รุนแรงนัก
ฤดูหนาว ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนภูมิภาคอื่นเนื่องจากอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศไทย อุณหภูมิเริ่มต่ำตั้งแต่ เดือนตุลาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์ หนาวจัดในช่วงปลาย เดือนธันวาคม ถึง เดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยในระดับ 16.5 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มในเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม มีฝนเล็กน้อยในปลายเดือนเมษายน แต่ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก อุณหภูมิเฉลี่ยในระดับ 34.8 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปสภาพอากาศไม่ร้อน หรือ หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีในระดับ 22.32 องศาเซลเซียส
การคมนาคม
ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๔ ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชื่อมโยงกับจังหวัดสระบุรี นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๑๙๑ แยกทางหลวง ๒๔ ถึงอำเภอเดชอุดม
ทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๑๙๒ เชื่อมโยงกับอำเภอทุ่งศรีอุดม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี
ทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๒๑๘๒ เชื่อมโยงกับอำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี และเชื่อมโยงระหว่างตำบล หมู่บ้านต่างๆ ของอำเภอเดชอุดม
การคมนาคมขนส่งสามารถติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวกโดยทางรถยนต์โดยสารประจำทาง อาทิ
- สายอุบลราชธานี-เดชอุดม
- สายอุบลราชธานี - บุณฑริก
สภาพเศรษฐกิจ
ภายในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม ประชาชนบางส่วนประกอบอาชีพทำนาข้าว ส่วนการทำไร่ ทำสวน มีการปลูกพืชเศรษฐกิจบางส่วนได้แก่ มันสำปะหลัง ยางพารา แก้วมังกร และพืชไร่อื่น
การศึกษา
 มีสถานการศึกษาในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม แยกได้ดังนี้ ๑. โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเดชอุดม และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเวตวันวิทยา และโรงเรียนเมืองเดช ๒. โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๖ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนหนองแสง โรงเรียนเวตวันวิทยา โรงเรียนเมืองเดช โรงเรียนดำรงสินอุทิศ โรงเรียนอนุบาลนาคสมุทรเดชอุดม และโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองเดชอุดม(ศิริลักษณ์วิทยาอนุสรณ์) ๓. โรงเรียน(ภาคเอกชน) จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลวรรณวิไล โรงเรียนอนุบาลเปรมชนก และโรงเรียนเวตวันวิทยาราม ๔. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองเดชอุดม และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดเวียงเกษม
การสาธารณสุข
การบริการด้านสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม มีหน่วยให้บริการทางสาธารณสุข ได้แก่ - โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน ๑ แห่ง คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ขนาด ๓๐๐ เตียง - สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเดชอุดม ๑ แห่ง - ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนเมือง รพร.เดชอุดม ๑ แห่ง - ศูนย์บริการสาธารณสุข ทม.เดชอุดม ๑ แห่ง - คลินิก (เอกชน) ๒๑ แห่ง - ร้านขายยา ๒๑ แห่ง
การไฟฟ้า
กิจการไฟฟ้าของเทศบาลเมืองเดชอุดมอยู่ในความควบคุมของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คือสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเดชอุดม
การประปา
กิจการประปาในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม ดำเนินการโดยสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคอำเภอเดชอุดม
การสื่อสาร
ภายในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม มีที่ทำการไปรษณีย์อำเภอเดชอุดม ของการสื่อสารแห่ง ประเทศไทย จำนวน ๑ แห่ง ให้บริการรับ-ส่งไปรษณีย์ ไปรษณีย์โทรเลข พัสดุภัณฑ์ ฯลฯ และมีสำนักงานบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สาขาเดชอุดม ๑ แห่ง
สถานีดับเพลิง
การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินภายในเขตเทศบาลเมืองเดชอุดม อยู่ในความดูแลของสถานีตำรวจภูธรเดชอุดม ตั้งอยู่ที่ถนนประชา และมีสถานีดับเพลิง เทศบาลเมืองเดชอุดม ๑ แห่ง ตั้งอยู่ที่อาคารป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานเทศบาลเมืองเดชอุดม มีจำนวนรถดับเพลิง ๒ คัน รถน้ำ ๓ คัน รถกู้ภัย ๑ คัน โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำ ตลอด 24 ชั่วโมง
ผังโครงสร้างหน่วยงาน
ผังโครงสร้างหน่วยงาน เทศบาลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้
อำนาจหน้าที่
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองเดชอุดม นั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ในเขตพื้นที่ของเทศบาลเมืองเดชอุดม ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาจะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เทศบาลเมืองเดชอุดม ยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
เทศบาลเมืองเดชอุดม กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ( และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาล มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
- ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
- รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฎิกูล
- ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
- ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
- ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
- บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- หน้าที่อื่นตามกฎหมายที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาล เทศบาลตำบลอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
- ให้มีโรงฆ่าสัตว์
- ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
- ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
- บํารุงและส่งเสริมการทํามาหากินของราษฎร
- ให้มีและบํารุงสถานที่ทําการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
- ให้มีและบํารุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
- เทศพาณิชย์
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 53 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
- กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา 50
- ให้มีน้ำสะอาดหรือน้ำประปา
- ให้มีโรงฆ่าสัตว์
- ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
- ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
- ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
- ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
- ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 54 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมืองอาจจัดทำกิจการใดๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี
- ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
- ให้มีสุสานและฌาปณสถาน
- บ ารุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
- ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
- ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
- ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
- ให้มีการสาธารณูปโภค
- จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
- จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
- ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
- ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
- เทศพาณิชย์
หน้าที่ตามพระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตําบลมีอํานาจ และหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
- การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
- การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบก ทางน้ําและทางระบายน้ํา.
- การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
- การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่น ๆ
- การสาธารณูปการ
- การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ
- การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
- การส่งเสริมการท่องเที่ยว
- การจัดการศึกษา
- การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
- การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
- การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
- การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
- การส่งเสริมกีฬา
- การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
- การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
- การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
- การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
- การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
- การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
- การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
- การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ
- การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การผังเมือง
- การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
- การดูแลรักษาที่สาธารณะ
- การควบคุมอาคาร
- การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ประวัติความเป็นมา
ตราสัญลักษณ์
ตราเทศบาล เทศบาลเมืองเดชอุดม ใช้รูปเสือเป็นตราประจำเทศบาล เนื่องจากแต่เดิมเขตเทศบาลเป็นป่าดงใหญ่ มีสัตว์ป่าและเสืออยู่มาก จึงได้นำรูปเสือมาเป็นตราสัญลักษณ์ เพื่อเตือนความจำว่าเทศบาลเมืองเดชอุดม ได้รับการพัฒนามาจากชุมชน ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ จนเป็นเมืองเดชอุดมขึ้นมา
เทศบาลเมืองเดชอุดม ตั้งอยู่เลขที่ 345 ถนนสถลมาร์ค ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี มีพื้นที่รับผิดชอบรวม 8.10 ตารารงกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ อบต.เมืองเดช
ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.เมืองเดช
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.เมืองเดช
ทิศใต้ ติดกับ อบต.เมืองเดช
เทศบาลเมืองเดชอุดม เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ได้รับการจัดตั้งความเป็นมาตามลำดับดังนี้
จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลเมืองเดช ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2499 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 73 ตอนที่ 83 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2499
เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเมืองเดช เป็นเทศบาลตำบลเมืองเดช ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542
เปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลเมืองเดช เป็นเทศบาลเมืองเมืองเดช เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2550 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 21 เมษายน 2550
เปลี่ยนชื่อ เทศบาลเมืองเมืองเดช เป็น เทศบาลเมืองเดชอุดม เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2551
เทศบาลเมืองเดชอุดม อยู่ในการกำกับดูแลของผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีและกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายกเทศมนตรีเมืองเดชอุดม เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
https://detudomcity.go.th/purechase/itemlist/category/20-about-us#sigProGalleria3b8f03fdfb
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต
“สร้างชุมชนให้รุ่งเรือง พัฒนาเมืองให้น่าอยู่ ”
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- พัฒนาปรับปรุงระบบบริการสาธารณะต่างๆ และโครงสร้างพื้นฐานให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
- พัฒนาการให้บริการด้านสาธารณสุขมูลฐานให้ได้มาตรฐาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
- ส่งเสริมการศึกษาแก่เด็ก เยาวชน ประชาชนทุกระดับ ให้ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ปรับปรุงระบบบริหารงานที่ดี มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการบริการประชาชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน
- พัฒนาศักยภาพของประชาชนและชุมชนให้เข้มแข็ง มีความสามัคคี สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
- ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และหัตถกรรม อันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น